PHIKANES2515

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

3 สูตร ฉุดน้ำยางต้อง YIC.Nano Spark ช่วยคืนชีพให้ยางหน้าตาย, YIC.Nano Speed ฮอร์โมนเร่งน้ำยางได้ผลเกินคาด, ตัวแทน YIC.Nano Spring จุลินทรีย์วายไอซีนาโนสปริง ธาตุอาหารและจุลินทรีย์ช่วยฟื้นฟูเสริมสภาพหน้ายางดีเยี่ยม, จำหน่ายสารเร่งน้ำยาง YIC.Nano Spring-Speed-Spark มีแบบแบ่งขายสำหรับชุดทดลอง, รับตัวแทนจำหน่ายสารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา (สารสกัดจากธรรมชาติ 100%)

http://www.phikanesplaza.com  มีสินค้าเกษตรไว้บริการทุกๆ ท่านมากมายค่ะ








มาแล้วค่ะ ผลิตภัณฑ์บำรุงยางพารา ชั้นแนวหน้า กล้าท้าพิสูจน์ กับ 3 สูตร เด็ด เผด็จศึกสวนกระแสราคายางตกต่ำ ดังนั้น การจะลงทุนกับสวนยางพาราทั้งที ต้องตระหนักว่าใช้อะไรจะประหยัด แต่ให้ผลคุ้มค่ากว่ากัน ที่สำคัญใช้ง่าย ไม่ยุ่งยากลำบากจนเกินไป แต่ได้ผลไว ต้นไม้ไม่ทรุดโทรมในระยะยาว ที่สำคัญ ปลอดภัยไร้สารเคมีตกค้าง

วันนี้ดิฉันขอแนะนำให้ท่านเกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ทั้งพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย ได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท เยส ไอ แคน คอร์เปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ตัวใหม่ล่าสุด 3 สูตร ฉุดน้ำยาง คือ

1) จุลินทรีย์ วายไอซี นาโน สปริง (YIC.NANO SPRING) สุดยอดของนวัตกรรมใหม่ ที่ผลิตจากจุลินทรีย์ซึ่งได้รับการคัดสรรมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราไฟท็อปธารา (Phytophthora) ที่เกิดขึ้นในยางพาราได้เป็นอย่างดี จึงช่วยให้ หน้ายางเปลือกนิ่ม กรีดง่าย ได้ผลผลิตมาก ปราศจากเชื้อรา เสริมสร้างเปลือกใหม่ ได้ผลจริง
จุลินทรีย์ วายไอซี นาโน สปริง (YIC.NANO SPRING) มีธาตุอาหารและจุลินทรีย์ที่สามารถเข้าไปฟื้นฟูสภาพของหน้ายางพารา พร้อมทั้งเข้าไปเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของท่อน้ำ ท่ออาหารในการช่วยเพิ่มผลผลิตของน้ำยาง และสามารถที่จะกำจัดเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคหน้ายางตายได้ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะเสริมสร้างเปลือกยางที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมามีสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงขึ้น จึงส่งผลให้ต้นยางมีปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ระยะการใช้
ตอนพักหน้ายาง : ให้ใช้จุลินทรีย์ วายไอซี.นาโนสปริง ฉีดพ่นบริเวณหน้ายาง เดือนละ 2 ครั้ง เพื่อเข้าไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อ พร้อมทั้งเข้าไปทำลายเชื้อราที่อยู่ในต้นยางพารา และเมื่อเปิดกรีดครั้งต่อไปหน้ายางจะนิ่ม และผลผลิตจะเพิ่มขึ้น
ตอนอยู่ในระยะการกรีด : ให้ใช้จุลินทรีย์ วายไอซี.นาโนสปริง ฉีดพ่นบริเวณหน้ายาง ในวันที่มีการกรีด เดือนละ 2 ครั้ง เพื่อเข้าไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อ หรือเปลือกยาง จะทำให้เปลือกนิ่ม กรีดง่าย ปริมาณน้ำยางจะเพิ่มขึ้น และป้องกันโรคหน้ายางตายได้ผลดี

2) วายไอซี.นาโนสปีด (YIC.NANO SPEED) คือ สารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยาง เหมาะสำหรับยางอายุน้ำยกว่า หรือ ต่ำกว่า 15 ปี เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ เพื่อชาวสวนยางโดยเฉพาะ  ซึ่งสารปรุงแต่ง ชนิดเข้มข้นของ วายไอซี.นาโน สปีด นี้สามารถออกฤทธิ์ฉับพลัน กรณีเพิ่มผลผลิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง และกรณีรักษายางตายนึ่ง จะเห็นผลได้ภายใน 7 วัน  ทั้งนี้ YIC.NANO SPEED ยังช่วยให้เปลือกยางนิ่ม กรีดง่าย ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้น ท่อน้ำยางมีความแข็งแรงสมบูรณ์ และน้ำยางเข้มข้นจึงมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
วิธีใช้ : วายไอซี.นาโนสปีด (YIC.NANO SPEED)
- กรณี เพื่อเพิ่มผลผลิต ใช้แปรงจุ่มสารปรุงแต่งฯ ทาบริเวณเหนือรอยกรีด ใช้ทุกๆ 20-30 วัน/ครั้ง
- กรณีเพื่อรักษา เปิดกรีดใหม่ แล้วทาสารปรุงแต่งฯ ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วกรีดตามปกติ
หมายเหตุ: เพื่อให้เห็นผลเร็วยิ่งขึ้น ควรใช้ วายไอซี.นาโนสปีด (YIC.NANO SPEED) ร่วมกับ จุลินทรีย์ วายไอซี.นาโน สปริง

3) วายไอซี.นาโนสปาร์ค(YIC.NANO SPARK) สารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยาง เหมาะสำหรับยางอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป ชาวสวนยางพาราท่านใดที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้ายางภายใน 7 วันรู้ผลจริง
สารปรุงแต่ง วายไอซี.นาโนสปาร์ค เป็นสารปรุงแต่งชนิดเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ฉับพลัน กรณีเพิ่มผลผลิต จะเห็นได้ภายใน 24 ชั่วโมง และกรณีรักษายางตายนึ่ง จะเห็นผลได้ภายใน 7 วัน
ประโยชน์ของ YIC.NANO SPARK
* ช่วยให้ยางเปลือกนิ่ม กรีดง่าย
* ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้น
* ท่อน้ำยางมีความแข็งแรงสมบูรณ์
* น้ำยางข้นขึ้น
* เสริมสร้างเปลือกใหม่
* แก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง
วิธีใช้ : วายไอซี.นาโนสปาร์ค และวายไอซี.นาโนสปีด
1) กรณีเพื่อเพิ่มผลผลิต ใช้แปรงจุ่มสารปรุงแต่งฯ ทาบริเวณเหนือรอยกรีด ใช้ทุกๆ 20-30 วัน/ครั้ง
2) กรณีเพื่อรักษา เปิดกรีดใหม่ แล้วทาสารปรุงแต่งฯ ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วกรีดตามปกติ
หมายเหตุ: เพื่อให้เห็นผลเร็วยิ่งขึ้น ควรใช้ วายไอซี.นาโนสปาร์ค และ วายไอซี.นาโนสปีด (YIC.NANO SPEED) ร่วมกับ จุลินทรีย์ วายไอซี.นาโน สปริง






วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

YIC.ปุ๋ยดีดีที่เกษตรกรเลือกใช้ให้ทางใบ-ราดโคน-คลุกปุ๋ย, การทำปุ๋ยหมักใช้เองแบบกลับกองและไม่กลับกอง, การทำการเกษตรหลังการทำนาข้าวให้เกิดประโยชน์และเสริมรายได้, การรักษาและเพิ่มธาตุอาหารหน้าดินในแปรงนาทำได้เพียงปลูกพืชตระกูลถั่ว, อาหารเสริมพืช YIC.แคปซูลนาโน คือ สารเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร


    

     http://www.phikanesplaza.com  มีสินค้าเกษตรไว้บริการมากมายค่ะ

ชาวนาหลายๆ ท่าน คิดไม่ตกว่าจะมีรายได้เสริมหลังทำนาได้อย่างไร  และเพาะปลูกอะไรดี ให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะ "น้ำ" คือ ตัวแปรที่สำคัญอันหนึ่งในการทำการเกษตร  ดังนั้นการเพาะปลูกอะไรที่ใช้น้ำไม่มาก ทนแล้ง อายุการเก็บเกี่ยวสั้นๆ นั้นควรจะเป็นพืชอะไร  วันนี้ดิฉันขออนุญาตนำข้อมูลจาก "กรมวิชาการเกษตร" มาเผยแพร่ผ่านสื่อนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ให้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงเกษตรกรมากยิ่งขึ้นอีกสื่อกลางหนึ่งไม่มากก็น้อยนะคะ

ผู้อ่านหลายๆ  ท่านคงได้รับทราบข่าวตามสื่อต่าง ๆ   เกี่ยวกับภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเราอยู่ในขณะนี้ว่า น้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศมีปริมาณลดน้อยลงกว่าทุก ๆ ปี  ส่งผลกระทบถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร  ในช่วงฤดูแล้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้    เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้    การที่จะให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชต่าง ๆ    หยุดการปลูกพืชเพื่อเป็นการประหยัดน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดก็คงจะเป็นไปไม่ได้ "กรมวิชาการเกษตร" จึงมีข้อแนะนำในการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งนี้  เพื่อให้การปลูกพืชผลทางการเกษตรยังคงเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรในภาพรวม ที่ผ่านมาเนื่องจากข้าวมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับรัฐบาลได้จัดทำโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำนาปรังมากขึ้นในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 นี้  ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่
ปลูกข้าวนาปรังประมาณ  9.50 ล้านไร่ แยกเป็นในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 2 ล้านไร่  ซึ่งหลายพื้นที่ได้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก  เพราะการปลูกข้าวหนึ่งรอบการผลิตต้องใช้น้ำปริมาณมาก ทำให้น้ำไม่พอเพียงกับความต้องการ  เป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตา กระทรวงเกษตรฯ   จึงเร่งให้ความรู้ในการงดปลูกข้าวนาปรังรอบ 2   และให้ปลูกพืชไร่-ผัก ที่มีช่องทางการตลาดดีทดแทน

          นายสมชาย  ชาญณรงค์กุล   อธิบดีกรมวิชาการเกษตร    กล่าวว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรับรอบที่ 1  แล้วเกษตรกรควรพักดินและงดทำนาปรังรอบ 2  และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดี
ทดแทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ด นอกจากเป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ  และลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว   ยังช่วยตัดวงจรปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย     เกษตรกรควร
จัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่   โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-นาปรัง  เช่น ปลูกถั่ว
เหลืองหลังนา   สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้นได้   ถ้าไถกลบต้นถั่วเหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลายตัวของถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน / ไร่   คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) 15 กก./ไร่ หรือไนโตรเจนในปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท(21-0-0) 34 กก./ไร่  เมื่อกลับไปปลูกข้าว  เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวทั้งประเทศได้ปีละกว่า  4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว  คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 12,032 ล้านบาท  นอกจากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และที่สำคัญยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปใน
ตัวด้วย
          นายเทวา เมาลานนท์  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่  กรมวิชาการเกษตร  แนะนำว่า การเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรควรคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอหรือไม่  เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบบการผลิต  หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือกปลูกพืชไร่ที่มีราคาดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิต ทั้งยังต้องมองถึงช่องทางตลาดด้วยว่า  พืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน   นอกจากนี้เกษตรกรต้องมีวิธีการเขตกรรมและจัดการแปลงอย่างถูกต้องและเหมาะสม  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิ
ภาพการผลิต ตั้งแต่เตรียมดินโดยเฉพาะนาในเขตชลประทานที่มีสภาพค่อนข้างเป็นดินเหนียว  ต้องคำนึงถึงความชื้นที่เหมาะสม  ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพพื้นที่  ซึ่งปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้มีพันธุ์พืชรับรองเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร อาทิ ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่60  เชียงใหม่2  เชียงใหม่5  นครสวรรค์1  พันธุ์ขอนแก่น ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท72  กำแพงแสน1 กำแพงแสน2 และพันธุ์ชัยนาท36  ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น6 ขอนแก่น 5  พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 และกาฬสินธุ์2 เป็นต้น
          เกษตรกรต้องมีการกำจัดวัชพืชในแปลงให้ทันเวลาและสม่ำเสมอ   พร้อมป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วย  สำหรับโรคและแมลงศัตรูพืชสำคัญของถั่วเขียวและถั่วเหลือง  ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะลำต้น  แมลงหวี่ขาว และโรคราสนิม  ส่วนศัตรูพืของถั่วลิสง    ได้แก่  เสี้ยนดิน  อีกทั้งยังต้องมีการให้
ปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม และตรงตามความต้องการของพืช  โดยใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน  ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ค่อนข้างมาก    การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก  เกษตรกรควรคำนึงถึงความต้องการของพืช   ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืชเหี่ยวเฉา เพื่อให้
การปลูกถั่วเหลืองและถั่วเขียวได้ผลผลิตดี ควรให้น้ำทุก 10-14 วัน  พยายามอย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะระยะที่พืชออกดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก  ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้น้ำเมื่อความชื้นในดินลดลง   หรือสังเกตต้นถั่วเมื่อใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน  การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ10-15 วัน/ครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแนวทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้
          เมื่อเกษตรกร ทราบถึงรายละเอียดในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยในฤดูแล้งเช่นนี้แล้ว   กรมวิชาการเกษตร หวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชที่มีความเหมาะสมในช่วงฤดูแล้งนี้และยังเป็นการช่วยในเรื่องของปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อกลับไปปลูกข้าวในฤดูการที่กำลังจะมาถึง และยังเป็นการช่วยให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประการสำคัญยังช่วยในการป้องกันโรคแมลงที่จะเกิดขึ้นกับการเพาะปลูกพืชได้อีกด้วย


ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยทางเลือกที่เกษตรกรผลิต/ทำใช้ได้เองในครัวเรือน รายละเอียดท่านสามารถชมได้ในยูทูปค่ะ  และสำหรับท่านที่ไม่ค่อยมีเวลามากพอที่จะทำปุ๋ยหมักใช้เอง และต้องการค่อยๆ ลดละเลิกใช้ปุ๋ยเคมีที่อาจจะเหลือใช้ในดินได้หากใช้ติดต่อกันนานๆ ทางเราก็มีปุ๋ยเกรดอินทรีย์เป็นนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี่ ที่สะดวกใช้เพราะบรรจุแคปซูล 1 แคปซูล คุณภาพเทียบเท่าปุ๋ยอินทรีย์ 1 กระสอบ เลยทีเดียวค่ะ ดิฉันขอแนะนำ "อาหารเสริมพืช YIC.แคปซูลนาโน และ YIC.นาโนพลัส" เป็นสูตรจากประเทศแคนาดาและอิสราเอล ทั้งสองตัวสามารถใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทุก 15-30 วัน ให้ทางใบ หรือสะดวกจะราดที่โคนและทรงพุ่มก็ได้ และจะคลุกปุ๋ยอินทรีย์ก็ยังได้อีกด้วยนะคะ

ราคากระปุกละ 3,500 บ.
ราคาสมาชิก 2,500 บ.
(ไม่รวมค่าส่ง)

ราคากระปุกละ 3,500 บ.
ราคาสมาชิก 2,500 บ.
(ไม่รวมค่าส่ง)

กระสอบละ 375 บ. น้ำหนัก 25 ก.ก.
ราคาสมาชิก 300 บ. (สั่งครบตันส่งฟรีทั่วประเทศ)





สารอินทรีย์มีฤทธิ์คุมไข่
และมีสารจับใบในตัว
ราคาขวดละ 400 บ.

น้ำหนัก 500 ซี.ซี.
(ไม่รวมค่าส่ง)

สารอินทรีย์ป้องกันเชื้อรา
ราคาขวดละ 850 บ.
น้ำหนัก 500 กรัม
(ไม่รวมค่าส่ง)

จากข้อมูลข้างบนจะเห็นว่าท่านเกษตรกรมีคำตอบแล้ว  และเป็นทางเลือกที่ท่านลงมือเพาะปลูกได้แน่นอน  เพียงมีใจ มีทุน มีแรงงาน มีตลาดรองรับ ก็ลุยได้เลย  เพราะท่านเกษตรกรโชคดีอยู่แล้วที่มีที่ดินทำกิน มีแหล่งนำตามธรรมชาติ หรือตามระบบกรมชลประทานก็ตาม  และหมั่นใส่ใจโรคแมลง วัชรพืข และศัตรูพืช บ้างก็จะทำให้ท่านเกษตรกรได้ผลผลิตเต็มเม็ด เต็มหน่วย แถมดินหลังการเพาะปลูกถั่วก็มีแร่ธาตุดีๆ มาปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดี และพร้อมสำหรับการทำนาในรอบต่อไปอีกด้วย ที่สำคัญได้ตัดวงจรพวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงบั่ว และอื่นๆ ที่จะมากวนข้าวในไร่นาของท่านอย่างได้ผลดีแบบธรรมชาติอีกด้วยค่ะ 

และสำหรับเกษตรกรที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยว "ฮอร์โมนเร่งผลผลิตพืชผล" เราขอแนะนำ "อาหารเสริมพืช วายไอซี.แคปซูลนาโน (YIC.Capsule Nano)" เป็นธาตุอาหารสีดำสูตรนาโนจากประเทศแคนาดาและอิสราเอล  ที่ท่านเกษตรกรเพียงแค่ใช้ผสมน้ำฉีดพ่น 2 แคปซูล ต่อน้ำ 40 ลิตร ต่อ นาข้าว 1 ไร่ ( 2 เป้ๆ ละ 1 แคปซูล ต่อน้ำ 20 - 25 ลิตร ฉีดเป็นละอองฝอยเล็กๆ ควรฉีดช่วงสายและบ่ายๆ ดี) สำหรับถั่ว 1 แคปซูล ต่อน้ำ 40 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 - 20 วัน จนกว่าจะเก็บเกี่ยว  หากท่านเกษตรกรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ ก็ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเม็ดลงกึ่งหนึ่ง  แล้วให้นำส่วนต่างมาพิจารณาเลือกใช้ปุ๋ยทางใบ จำพวก "อาหารเสริมพืช หรือ ฮอร์โมน" ก็ได้  เพื่อนำมาปรับใช้เร่งผลผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้น แต่เน้นต้นทุนลดลง และดินเสียลดลง  ดังนั้นเมื่อดินดีขึ้นแน่นอน การใช้ปุ๋ยทางดินก็จะสามารถลดลงไปได้ทีละน้อยๆ ค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั้งแถบไม่ได้ใช้เลย นี่คงเป็นเป้าหมายของเกษตรกรหลายๆ คนแน่นอนใช่ไหมคะ