http://www.phikanesplaza.com มีสินค้าเกษตรไว้บริการมากมายค่ะ
ชาวนาหลายๆ ท่าน คิดไม่ตกว่าจะมีรายได้เสริมหลังทำนาได้อย่างไร และเพาะปลูกอะไรดี ให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะ "น้ำ" คือ ตัวแปรที่สำคัญอันหนึ่งในการทำการเกษตร ดังนั้นการเพาะปลูกอะไรที่ใช้น้ำไม่มาก ทนแล้ง อายุการเก็บเกี่ยวสั้นๆ นั้นควรจะเป็นพืชอะไร วันนี้ดิฉันขออนุญาตนำข้อมูลจาก "กรมวิชาการเกษตร" มาเผยแพร่ผ่านสื่อนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ให้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงเกษตรกรมากยิ่งขึ้นอีกสื่อกลางหนึ่งไม่มากก็น้อยนะคะ
ผู้อ่านหลายๆ ท่านคงได้รับทราบข่าวตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเราอยู่ในขณะนี้ว่า น้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศมีปริมาณลดน้อยลงกว่าทุก ๆ ปี ส่งผลกระทบถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ในช่วงฤดูแล้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ การที่จะให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชต่าง ๆ หยุดการปลูกพืชเพื่อเป็นการประหยัดน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดก็คงจะเป็นไปไม่ได้ "กรมวิชาการเกษตร" จึงมีข้อแนะนำในการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งนี้ เพื่อให้การปลูกพืชผลทางการเกษตรยังคงเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรในภาพรวม ที่ผ่านมาเนื่องจากข้าวมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับรัฐบาลได้จัดทำโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำนาปรังมากขึ้นในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 นี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่
ปลูกข้าวนาปรังประมาณ 9.50 ล้านไร่ แยกเป็นในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 2 ล้านไร่ ซึ่งหลายพื้นที่ได้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะการปลูกข้าวหนึ่งรอบการผลิตต้องใช้น้ำปริมาณมาก ทำให้น้ำไม่พอเพียงกับความต้องการ เป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตา กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งให้ความรู้ในการงดปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 และให้ปลูกพืชไร่-ผัก ที่มีช่องทางการตลาดดีทดแทน
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรับรอบที่ 1 แล้วเกษตรกรควรพักดินและงดทำนาปรังรอบ 2 และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดี
ทดแทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากเป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ และลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว ยังช่วยตัดวงจรปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย เกษตรกรควร
จัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่ โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-นาปรัง เช่น ปลูกถั่ว
เหลืองหลังนา สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้นได้ ถ้าไถกลบต้นถั่วเหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลายตัวของถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน / ไร่ คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) 15 กก./ไร่ หรือไนโตรเจนในปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท(21-0-0) 34 กก./ไร่ เมื่อกลับไปปลูกข้าว เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวทั้งประเทศได้ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 12,032 ล้านบาท นอกจากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และที่สำคัญยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปใน
ตัวด้วย
นายเทวา เมาลานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร แนะนำว่า การเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรควรคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบบการผลิต หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือกปลูกพืชไร่ที่มีราคาดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิต ทั้งยังต้องมองถึงช่องทางตลาดด้วยว่า พืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน นอกจากนี้เกษตรกรต้องมีวิธีการเขตกรรมและจัดการแปลงอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิ
ภาพการผลิต ตั้งแต่เตรียมดินโดยเฉพาะนาในเขตชลประทานที่มีสภาพค่อนข้างเป็นดินเหนียว ต้องคำนึงถึงความชื้นที่เหมาะสม ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้มีพันธุ์พืชรับรองเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร อาทิ ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่60 เชียงใหม่2 เชียงใหม่5 นครสวรรค์1 พันธุ์ขอนแก่น ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท72 กำแพงแสน1 กำแพงแสน2 และพันธุ์ชัยนาท36 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น6 ขอนแก่น 5 พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 และกาฬสินธุ์2 เป็นต้น
เกษตรกรต้องมีการกำจัดวัชพืชในแปลงให้ทันเวลาและสม่ำเสมอ พร้อมป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วย สำหรับโรคและแมลงศัตรูพืชสำคัญของถั่วเขียวและถั่วเหลือง ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะลำต้น แมลงหวี่ขาว และโรคราสนิม ส่วนศัตรูพืของถั่วลิสง ได้แก่ เสี้ยนดิน อีกทั้งยังต้องมีการให้
ปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม และตรงตามความต้องการของพืช โดยใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ค่อนข้างมาก การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก เกษตรกรควรคำนึงถึงความต้องการของพืช ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืชเหี่ยวเฉา เพื่อให้
การปลูกถั่วเหลืองและถั่วเขียวได้ผลผลิตดี ควรให้น้ำทุก 10-14 วัน พยายามอย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะระยะที่พืชออกดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้น้ำเมื่อความชื้นในดินลดลง หรือสังเกตต้นถั่วเมื่อใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ10-15 วัน/ครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแนวทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้
เมื่อเกษตรกร ทราบถึงรายละเอียดในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยในฤดูแล้งเช่นนี้แล้ว กรมวิชาการเกษตร หวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชที่มีความเหมาะสมในช่วงฤดูแล้งนี้และยังเป็นการช่วยในเรื่องของปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อกลับไปปลูกข้าวในฤดูการที่กำลังจะมาถึง และยังเป็นการช่วยให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประการสำคัญยังช่วยในการป้องกันโรคแมลงที่จะเกิดขึ้นกับการเพาะปลูกพืชได้อีกด้วย
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยทางเลือกที่เกษตรกรผลิต/ทำใช้ได้เองในครัวเรือน รายละเอียดท่านสามารถชมได้ในยูทูปค่ะ และสำหรับท่านที่ไม่ค่อยมีเวลามากพอที่จะทำปุ๋ยหมักใช้เอง และต้องการค่อยๆ ลดละเลิกใช้ปุ๋ยเคมีที่อาจจะเหลือใช้ในดินได้หากใช้ติดต่อกันนานๆ ทางเราก็มีปุ๋ยเกรดอินทรีย์เป็นนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี่ ที่สะดวกใช้เพราะบรรจุแคปซูล 1 แคปซูล คุณภาพเทียบเท่าปุ๋ยอินทรีย์ 1 กระสอบ เลยทีเดียวค่ะ ดิฉันขอแนะนำ "อาหารเสริมพืช YIC.แคปซูลนาโน และ YIC.นาโนพลัส" เป็นสูตรจากประเทศแคนาดาและอิสราเอล ทั้งสองตัวสามารถใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทุก 15-30 วัน ให้ทางใบ หรือสะดวกจะราดที่โคนและทรงพุ่มก็ได้ และจะคลุกปุ๋ยอินทรีย์ก็ยังได้อีกด้วยนะคะ
ราคากระปุกละ 3,500 บ. ราคาสมาชิก 2,500 บ. (ไม่รวมค่าส่ง) |
ราคากระปุกละ 3,500 บ. ราคาสมาชิก 2,500 บ. (ไม่รวมค่าส่ง) |
กระสอบละ 375 บ. น้ำหนัก 25 ก.ก. ราคาสมาชิก 300 บ. (สั่งครบตันส่งฟรีทั่วประเทศ) |
สารอินทรีย์มีฤทธิ์คุมไข่ และมีสารจับใบในตัว ราคาขวดละ 400 บ. น้ำหนัก 500 ซี.ซี. (ไม่รวมค่าส่ง) |
สารอินทรีย์ป้องกันเชื้อรา ราคาขวดละ 850 บ. น้ำหนัก 500 กรัม (ไม่รวมค่าส่ง) |
จากข้อมูลข้างบนจะเห็นว่าท่านเกษตรกรมีคำตอบแล้ว และเป็นทางเลือกที่ท่านลงมือเพาะปลูกได้แน่นอน เพียงมีใจ มีทุน มีแรงงาน มีตลาดรองรับ ก็ลุยได้เลย เพราะท่านเกษตรกรโชคดีอยู่แล้วที่มีที่ดินทำกิน มีแหล่งนำตามธรรมชาติ หรือตามระบบกรมชลประทานก็ตาม และหมั่นใส่ใจโรคแมลง วัชรพืข และศัตรูพืช บ้างก็จะทำให้ท่านเกษตรกรได้ผลผลิตเต็มเม็ด เต็มหน่วย แถมดินหลังการเพาะปลูกถั่วก็มีแร่ธาตุดีๆ มาปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดี และพร้อมสำหรับการทำนาในรอบต่อไปอีกด้วย ที่สำคัญได้ตัดวงจรพวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงบั่ว และอื่นๆ ที่จะมากวนข้าวในไร่นาของท่านอย่างได้ผลดีแบบธรรมชาติอีกด้วยค่ะ
และสำหรับเกษตรกรที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยว "ฮอร์โมนเร่งผลผลิตพืชผล" เราขอแนะนำ "อาหารเสริมพืช วายไอซี.แคปซูลนาโน (YIC.Capsule Nano)" เป็นธาตุอาหารสีดำสูตรนาโนจากประเทศแคนาดาและอิสราเอล ที่ท่านเกษตรกรเพียงแค่ใช้ผสมน้ำฉีดพ่น 2 แคปซูล ต่อน้ำ 40 ลิตร ต่อ นาข้าว 1 ไร่ ( 2 เป้ๆ ละ 1 แคปซูล ต่อน้ำ 20 - 25 ลิตร ฉีดเป็นละอองฝอยเล็กๆ ควรฉีดช่วงสายและบ่ายๆ ดี) สำหรับถั่ว 1 แคปซูล ต่อน้ำ 40 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 - 20 วัน จนกว่าจะเก็บเกี่ยว หากท่านเกษตรกรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ ก็ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเม็ดลงกึ่งหนึ่ง แล้วให้นำส่วนต่างมาพิจารณาเลือกใช้ปุ๋ยทางใบ จำพวก "อาหารเสริมพืช หรือ ฮอร์โมน" ก็ได้ เพื่อนำมาปรับใช้เร่งผลผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้น แต่เน้นต้นทุนลดลง และดินเสียลดลง ดังนั้นเมื่อดินดีขึ้นแน่นอน การใช้ปุ๋ยทางดินก็จะสามารถลดลงไปได้ทีละน้อยๆ ค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั้งแถบไม่ได้ใช้เลย นี่คงเป็นเป้าหมายของเกษตรกรหลายๆ คนแน่นอนใช่ไหมคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น