PHIKANES2515

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทำนาออนไลน์กับณิคกี้กันดีไหมคะ, นาข้าวนาโนกับYIC., ณิคกี้คนบ้าขายปุ๋ยนาโนกับนาข้าว, รู้จักข้าวกันมากขึ้นกับณิคกี้






อาหารเสริมพืช YIC.NANO ราคากระปุก/ขวดละ 3,500บาท
ราคาสมาชิกเท่ากันคือ อย่างละ 2,500บาท
ค่าสมัครสมาชิกตลอดชีพ350บาท รับของสมนาคุณไปทดลองใช้ได้ค่ะ
ปัจจุบันนี้ชาวนารุ่นหลังๆ เริ่มมีการพัฒนาการทำนาแบบใหม่มากมาย มีทั้งใช้แรงงานจากคน จากสัตว์ และจากเครื่องจักรกล โดยทั้งนี้การลงทุนเป็นตัวแปรสำคัญที่เกษตรกรชาวนาชาวไร่ชาวสวนจะตระหนักว่าลงไปแล้วจะคืนทุนได้จริง และพอมีกำไรเหลือไว้กินไว้ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัวที่รักของพวกเขาได้หรือเปล่าเท่านั้น

ดังนั้นวันนี้ณิคกี้จึงขอนำเสนอข้อมูลที่เกษตรกรทั้งแบบเก๋า มืออาชีพสุดยอดอยู่แล้ว และรวมทั้งชาวนามือใหม่ได้นำไปประกอบการพิจารณาที่จะนำไปต่อยอดปรับใช้กับการทำนาครั้งหน้ากันบ้างดีกว่านะคะ

ข้อสำคัญในการทำนาแบบออนไลน์ (เพื่อแบ่งปันให้ชาวนามือใหม่ได้ศึกษาเป็นเบื้องต้น สำหรับคนที่เป็นมืออาชีพแล้วก็ไม่ต้องอ่าน ผ่านไปได้เลยค่ะ)
1) ตอนนี้การทำนาให้ได้ผลผลิตสูงๆ ชาวนาควรเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับอากาศ ดิน น้ำ และลม เป็นสำคัญ จะเป็นพันธุ์ข้าวทนแล้งได้ดี หรือบางพื้นที่พันธุ์ควรทนต่อน้ำท่วมได้ดี เป็นต้น บางรายเน้นปลูกข้าวที่กระแสนิยม แต่กลับได้ข้าวไม่ได้คุณภาพก็มีค่ะ เพราะฝืนกับสภาพแวดล้อมมากเกินไปนั่นเองค่ะ
2) การเริ่มเตรียมดินเพาะปลูก ปัจจุบันนี้ถูกควบคุมด้วยหน่วยราชการ เนื่องจากทางราชการเกรงเรื่องปริมาณข้าวล้นตลาด และเพื่อควบคุมการระบาดของศัตรูพืชนั่นเองค่ะ จึงต้องมีการแจ้งกำหนดการหว่านข้าวกล้ากับราชการด้วยเป็นสำคัญ ไม่ใช่ใครนึกจะทำก็ทำได้เหมือนสมัยก่อนแล้วนะคะ
3) การหว่านข้าวกล้าในนาสมัยก่อนๆ และจวบจนปัจจุบันวันนี้เราจะเห็นภาพชาวนาเตรียมข้าวเปลือกแช่น้ำรอจนข้าวเริ่มงอกเป็นปุ่มๆ ที่จมูกข้าวแล้วก็นำไปหว่านลงแปลงนา แต่แบบนี้ชาวนาจะต้องเสี่ยงกับศัตรูพืช เช่น นก หนู มาจิกกินเสียหายได้ก็มาก จึงทำให้ชาวนาต้องสูญเสียพันธุ์ข้าวกล้าไปโดยใช่เหตุ ดังนั้นระยะหลังๆ มา ชาวนาเริ่มซึมซับเทคนิคการทำนาแบบใหม่ๆ กันมากขึ้น อะไรดีทำหมด เช่น การหาซื้อถาดเพาะกล้านาโยน มาเตรียมดิน เพาะปลูกเมล็ดลงในถาดเพาะ พอโตก็นำไปโยนลงดินที่เตรียมทำเทือกไว้รอแล้วก็มีค่ะ อันนี้จะจำกัดว่าควรเป็นพื้นที่นาที่ใกล้แหล่งน้ำเป็นสำคัญค่ะ
4) เมื่อข้าวติดรากตั้งต้นได้แล้วในช่วงอายุประมาณ20-25 วัน ก็เตรียมบำรุงนาข้าวได้ด้วยปุ๋ยแบบต่างๆ ที่ท่านมีกำลังซื้อได้ หรือผลิตใช้เอง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น แต่สำหรับณิคกี้แล้ว ตอนนี้ได้พบกับนวัตกรรมนาโนดีๆ อย่าง "อาหารเสริมพืช YIC.NANO" ที่เพียงผสมน้ำก็ฉีดพ่นทางใบได้เลยก็สะดวก และช่วยลดต้นทุนได้จริงๆ เพียงไร่ละ 20 บาท/ต่อครั้ง เท่านั้น ค่ะ (ให้ปุ๋ยทางใบครั้งที่ 1)
5) ระยะเร่งบำรุงข้าวแตกกอเพิ่มทรงพุ่มใหญ่เต็มที่ ช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง ต้นเริ่มกลมๆ อายุข้าวก็จะอยู่ที่ประมาณ 45-50วัน (ให้ปุ๋ยทางใบครั้งที่ 2)
6) ช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง ต้นเริ่มกลมๆ อายุข้าวก็จะอยู่ที่ประมาณ 65-70วัน ก็ฉีดพ่นอีกรอบ บำรุงปุ๋ยช่วงก่อนข้าวตั้งท้อง (ให้ปุ๋ยทางใบครั้งที่ 3)
7) ช่วงข้าวสลัดเกสร (ช่วงข้าวตั้งน้ำนม) แล้วค่อยฉีดพ่นบำรุงข้าวอีกรอบ อายุข้าวประมาณ 85-90 วัน(ให้ปุ๋ยทางใบครั้งที่ 4)
8) ช่วงข้าวสุก พร้อมเก็บเกี่ยว ชาวนาบางแห่งให้วิธีลงแขกเกี่ยวข้าวเอาแรงกันแบบสมัยเดิมๆ รุ่นปุ่ย่าตาทวดก็ยังมีเหมือนกันแต่น้อยเต็มทีค่ะ สมัยนี้เขานิยมใช้รถเกี่ยวข้าวพร้อมกับฝัดให้เป็นข้าวหลุดจากรวงข้าวออกมาเป็นข้าวเปลือกเลย สามารถส่งขายรับใบประทวนทันทีที่โรงสีใกล้บ้าน สะดวกสบายกว่าสมัยก่อนมากๆ เลยค่ะ รวดเร็วทันใจใช้เวลาน้อย มีเวลาเหลือไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้มากมายค่ะ

อย่างไรก็ตาม การทำนาปัจจุบันนี้ใช่ว่าจะไม่มีสิ่งที่เป็นอุปสรรคคอยรบกวน จะว่าไปก็มีพวกวัชรพืช และศัตรูพืชที่ต้องคอยกำจัด อย่างไรดิฉันก็ขอแนะนำการกำจัดด้วยวิธีที่ปลอดภัยกับตัวเกษตรกรเองจะดีที่สุด  โดยเลือกใช้สารจุลินทรีย์กำจัดแทนพวกเคมีก็ดีค่ะ หรือจะใช้สัตว์กำจัดสัตว์อย่างพวก"ตัวห้ำตัวเบียน"ก็ได้ค่ะ หลายๆ ท่านบอกว่า พวกหนอนเพลี้ยระบาดหนักมากๆ เอาไม่อยู่ ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การทำนาแบบเว้นระยะพักหน้าดินนานๆ บ้างก็ดีนะคะ แล้วปลูกพวกปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ ไว้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินเพิ่มธาตุไนโตรเจนเสียก็ยังดีกว่านะคะ  การทำนาแบบอินทรีย์เพียวๆ เดี๋ยวนี้ก็นิยมกันมาก เพราะราคาข้าวมีใบสั่งจากต่างประเทศโดยตรงราคาจึงดีมากๆ ค่ะ เพราะเป็นข้าวปลอดสารพิษกินแล้วสบายใจได้เงินเยอะก็มีหลายรายที่เข้ากลุ่มร่วมกันทำ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นนาทางภาคอีสาณค่ะที่เขารวมตัวกันเหนียวแน่นได้อย่างน่าชื่นชมค่ะ 

ท้ายนี้ก่อนที่จะจบ ณิคกี้ก็ขอแนะนำสินค้าเกษตรดีๆ ของ www.phikanesplaza.com ไว้ด้วยนะคะ เพื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านเกษตรกรไม่มากก็น้อยนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น