เบต้า อะมิโนพลัส (Beta Amino Plus) @ 3,500บ. ราคาสมาชิก 2,500บ./กระปุก ชุดประหยัด 3,600บ. |
1) ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
2) ผู้ที่เป็นมะเร็งทุกชนิด
3) ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
4) ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงรังสีหรือฉีดยาคีโมเพื่อรักษามะเร็ง
5) ผู้ที่ไวต่อการเกิดภูมิแพ้
6) ผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อทุกชนิด
7) ผู้ที่เป็นแผลหายยากหรือหายช้า
8) ผู้ที่เป็นโรคขาดสารอาหาร
9) ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
10) ผู้ที่มีไขมันคลอเลสเตอรอลสูงในเลือด
11) ผู้ที่ต้องการชลอวัย
12) ผู้ที่ต้องการรักษาความชุ่มชื้น ฟื้นฟูสภาพผิว
13) ช่วยลดเลือนริ้วรอย และให้ดูอ่อนเยาว์ขึ้น
14) ให้พลังงานกับเซลล์
15) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
สวัสดีปีใหม่ค่ะ ท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกๆ ท่าน ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2557 นี้ ดิฉันปรียาภัสสร์ การัณยศิลป์ "ณิคกี้" ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ได้โปรดอำนวยพรอันประเสริฐทั้งมวลให้ทุกท่านได้รับความสุขสมหวังดังใจปรารถนาทุกประการ คิดเงินให้ได้เงิน คิดทองให้ได้ทอง ทำธุรกิจค้าขายให้เจริญรุ่งเรือง เฟื่องฟู มีบ้าน มีรถหรูหรา สง่างามสมใจ ได้คู่คิดชิดใกล้ใช่เลย ได้กัลยาณมิตรที่ดีหนุนนำ ร่ำเรียนเขียนอ่านผ่านฉลุย นักธุรกิจอิสระเครือข่ายให้มีองค์กรแผ่ขยายได้เงินเยอะๆ เจอะเจอแต่ดาวไลน์ใฝ่ดีมีคุณธรรมล้ำเลิศเชิดชูองค์กร จะกินนอนไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ขอให้ประสบแต่ความโชคดีมีชัยตลอดปีม้าคึกคักนี้กันถ้วนทั่วนะคะ
เมื่อปลายปี 56 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับข่าวเศร้าเนื่องจากคนที่เคยเห็นหน้าเห็นตากันดิบดี เป็นแม่นมชื่อ "น้าปุ่น" ของหลานๆ "น้องจินายและน้องหนุน" ที่บ้านเกิด คือ จ.พิจิตร ได้ป่วยหนักด้วย"โรคมะเร็งช่องปาก" ได้ทราบข่าวจากน้องนิว น้องสาวลูกพี่ลูกน้องว่า น้าปุ่นป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาล และได้สิ้นใจในเวลาต่อมา พอมาคิดๆ ดูว่าที่เราเคยเห็นน้าปุ่นนั้นมักจะชอบเคี้ยวหมาก เหมือนคุณแม่ของผู้เขียนเลย แล้วหากจะสันนิฐานถึงความเสี่ยงกับโรคมะเร็งช่องปากแล้ว ย่อมมีโอกาสสูง ดังนั้นเรื่องราวที่ผู้เขียนได้นำเรื่องของน้าปุ่นมาแบ่งปันแด่ทุกท่านในวาระโอกาสนี้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ผู้เขียนไม่มีเจตนาร้ายใดๆ ที่กล่าวล่วงเกินผู้จากไปแต่อย่างใด แต่จะขอนำเสนอเรื่องราวของท่านผู้ที่จากไปนี้เพื่อให้เป็นแนวคิด เป็นอุทาหรณ์กับทุกคนต่อไป และผู้เขียนขอให้อานิสงค์นี้ส่งให้ดวงวิญญาณของน้าปุ่นได้ไปสู่สุขคติในสรรปลายภพหน้าด้วยเถิดนะคะ และเพื่อให้เราได้ตระหนักถึงอาการของโรค ปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคมะเร็งช่องปากนี้ เรามาดูข้อมูลเพิ่มเติมกันเลยนะคะ
มะเร็งช่องปาก
อวัยวะในช่องปากอาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นปากใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และส่วนบนของลำคอ
มะเร็งในช่องปาก โดยมักพบในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบน้อยลงหลังจากอายุ 60 ปีไปแล้ว แต่ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุมีมากขึ้นจึงอาจจะพบมะเร็งในช่องปากในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นได้ และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาจจะเป็นเพราะผู้ชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
1. พบว่าประมาณ 90% ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากเป็นผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราถึง 15 เท่า
2. การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัดเกินไป เนื่องจากความร้อนที่มาจากอาหาร ควันบุหรี่ และแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดการระคายเคือง เมื่อถูกระคายเคืองอยู่เป็นประจำ ทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และอาจทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
2. การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัดเกินไป เนื่องจากความร้อนที่มาจากอาหาร ควันบุหรี่ และแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดการระคายเคือง เมื่อถูกระคายเคืองอยู่เป็นประจำ ทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และอาจทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
3. หมากพลู พบว่าในหมากพลูนี้จะมีสารก่อมะเร็ง ซึ่งผู้ที่กินหมากและอมหมากไว้ที่กระพุ้งแก้มเป็นประจำจะเกิดการระคายเคืองจากความแข็งของหมากที่เคี้ยว ก็อาจทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มเกิดการเปลี่ยนแปลงได้
4. สุขภาพในช่องปากไม่ดี เช่น ฟันผุเรื้อรัง รวมถึงการระคายเคืองจากฟันที่แหลมคมผู้ที่มีฟันแตก ฟันบิ่น ขอบฟันที่คมจะบาดเนื้อเยื่อในช่องปากโดยเฉพาะกระพุ้งแก้มและลิ้น ทำให้เป็นแผลเรื้อรังอยู่นาน ๆ แผลนั้นอาจกลายเป็นมะเร็งได้
5. แสงแดด ทำให้เกิดมะเร็งที่บริเวณริมฝีปาก
4. สุขภาพในช่องปากไม่ดี เช่น ฟันผุเรื้อรัง รวมถึงการระคายเคืองจากฟันที่แหลมคมผู้ที่มีฟันแตก ฟันบิ่น ขอบฟันที่คมจะบาดเนื้อเยื่อในช่องปากโดยเฉพาะกระพุ้งแก้มและลิ้น ทำให้เป็นแผลเรื้อรังอยู่นาน ๆ แผลนั้นอาจกลายเป็นมะเร็งได้
5. แสงแดด ทำให้เกิดมะเร็งที่บริเวณริมฝีปาก
6. โรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ซิฟิลิส วัณโรค
7. การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น แผลจากฟันปลอม
8. เคยได้รับรังสีเอกซเรย์
การวินิจฉัย
เนื่องจากมะเร็งในช่องปาก เป็นตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายจากการตรวจร่างกาย ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อจากตำแหน่งที่สงสัยเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา จึงสามารถทำให้การวินิจฉัยได้สะดวกและแม่นยำ ซึ่งขั้นตอนในการวินิจฉัยจะมีรายละเอียด ดังนี้คือ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย แพทย์มักจะทำการตรวจศีรษะและคออย่างละเอียด รวมถึงสำรวจผิวหนังบริเวณใบหน้า ศีรษะ และคอ สำรวจเยื่อบุในปากโดยใช้ไม้กดลิ้นช่วย หรือใช้มือคลำในช่องปากหลังถอดฟันปลอมออกแล้ว ตลอดจนใช้เครื่องส่องดูบริเวณจมูก หู และโคนลิ้น บางรายอาจตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
3. การตรวจเลือดและอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะ พบว่า ร้อยละ 5 ของมะเร็งในช่องปากจะให้ผลวีดีอาร์แอล (VDRL) ให้ค่าผลเป็นบวก บางรายอาจต้องเจาะเลือดตรวจดูการทำงานของตับ (Liver function test) ด้วยในรายที่สงสัยว่าจะมีการลุกลามแพร่กระจายไปยังตับ ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อหรือมีปอดอักเสบจากการสำลักเศษอาหารเข้าปอด แพทย์มักจะส่งหนองหรือเสมหะไปเพาะเชื้อตรวจ
4. การเอกซเรย์ จะช่วยวินิจฉัยว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายลุกลามไปถึงกระดูกแล้วหรือไม่ และอาจช่วยพยากรณ์โรคด้วย
5. การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยมักพิจารณาจากตำแหน่ง ขนาด และชนิดของก้อนนั่นเอง
3. การตรวจเลือดและอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะ พบว่า ร้อยละ 5 ของมะเร็งในช่องปากจะให้ผลวีดีอาร์แอล (VDRL) ให้ค่าผลเป็นบวก บางรายอาจต้องเจาะเลือดตรวจดูการทำงานของตับ (Liver function test) ด้วยในรายที่สงสัยว่าจะมีการลุกลามแพร่กระจายไปยังตับ ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อหรือมีปอดอักเสบจากการสำลักเศษอาหารเข้าปอด แพทย์มักจะส่งหนองหรือเสมหะไปเพาะเชื้อตรวจ
4. การเอกซเรย์ จะช่วยวินิจฉัยว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายลุกลามไปถึงกระดูกแล้วหรือไม่ และอาจช่วยพยากรณ์โรคด้วย
5. การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยมักพิจารณาจากตำแหน่ง ขนาด และชนิดของก้อนนั่นเอง
การแพร่กระจาย
มะเร็งในช่องปาก มีการแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ
1. การลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง (Local invasion)
1. การลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง (Local invasion)
2. เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ (Lymphatic spread) พบได้บ่อย
3. เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด ซึ่งพบไม่บ่อย และมักจะเกิดขึ้นในรายที่เป็นมากแล้วมะเร็งทางด้านหน้าของช่องปากมักจะโตช้าและกระจายช้ากว่ามะเร็งที่อยู่ด้านหลัง เช่น มะเร็งริมฝีปากจะโตช้ากว่ามะเร็งโคนลิ้น
อาการและอาการแสดง
1. เริ่มด้วยมีแผลในช่องปากรักษาไม่หายเป็นเวลานานเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่เจ็บปวด
2. มีฝ้าขาวในช่องปาก ร่วมกับตุ่มนูนบนเยื่อบุช่องปากและลิ้น
3. มีก้อนไม่รู้สึกเจ็บในช่องปาก โตเร็ว และในที่สุดก็แตกออกเป็นแผล
4. ต่อมามีก้อนเกิดขึ้นที่คอ กดไม่เจ็บ บวมโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งแตกออกเป็นแผล
มะเร็งในช่องปาก
โดยทั่วไปแล้วในระยะเริ่มแรกของมะเร็งมักไม่มีอาการเจ็บ นอกจากมีการอักเสบติดเชื้อร่วมด้วย แต่มะเร็งของลิ้นหรือลำคอในบางตำแหน่งอาจทำให้เกิดการเจ็บในหูขณะกลืนอาหารได้เพราะมีเส้นประสาทร่วมกัน บางครั้งจึงไม่ได้รับการใส่ใจกับการตรวจในช่องปากและลำคอโดยตรง
การเป็นแผลหรือก้อนที่ตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้นไก่ ลิ้น และใต้ลิ้น สำหรับมะเร็งของลิ้นและพื้นปากใต้ลิ้นอาจทำให้มีอาการแลบลิ้นไม่ออก พูดไม่ชัด กลืนอาหารไม่สะดวก เพราะการเคลื่อนไหวของลิ้นไม่เป็นปกติ ในรายที่เป็นมากอาจจะมีการฝ่อของลิ้นได้
การเป็นแผลหรือก้อนที่ตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้นไก่ ลิ้น และใต้ลิ้น สำหรับมะเร็งของลิ้นและพื้นปากใต้ลิ้นอาจทำให้มีอาการแลบลิ้นไม่ออก พูดไม่ชัด กลืนอาหารไม่สะดวก เพราะการเคลื่อนไหวของลิ้นไม่เป็นปกติ ในรายที่เป็นมากอาจจะมีการฝ่อของลิ้นได้
ในรายที่รอยโรคอยู่ใต้ขากรรไกร โดยเฉพาะเมื่ออยู่ที่เหงือกในตำแหน่งหลังต่อฟันกราม ซึ่งมีการลุกลามเข้าไปในกล้ามเนื้อที่ใช้ในการอ้าปากหรือขากรรไกรได้ง่าย จะทำให้อ้าปากได้ลำบาก
การรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็ง รวมทั้งระยะของโรคสำหรับรอยโรคขนาดเล็ก อาจผ่าตัดออกได้โดยไม่ทำให้เกิดการผิดรูปของใบหน้า สำหรับในบางตำแหน่ง เช่น ริมฝีปาก การใช้รังสีรักษาจะให้ผลการรักษาที่ดีเท่ากันกับการผ่าตัด แต่มีข้อดีที่เหนือกว่า คือ ยังสามารถรักษาโครงสร้างและการทำงานปกติไว้ได้
การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็ง รวมทั้งระยะของโรคสำหรับรอยโรคขนาดเล็ก อาจผ่าตัดออกได้โดยไม่ทำให้เกิดการผิดรูปของใบหน้า สำหรับในบางตำแหน่ง เช่น ริมฝีปาก การใช้รังสีรักษาจะให้ผลการรักษาที่ดีเท่ากันกับการผ่าตัด แต่มีข้อดีที่เหนือกว่า คือ ยังสามารถรักษาโครงสร้างและการทำงานปกติไว้ได้
ส่วนในระยะลุกลาม จะใช้การรักษาร่วมระหว่างการผ่าตัดและการฉายรังสี ส่วนเคมีบำบัดนั้นอาจมีบทบาทร่วมในการลดขนาดก้อนที่ใหญ่มากก่อนเริ่มการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายรังสี
วิธีแปรงฟัน การป้องกันและข้อควรปฏิบัติ
1. ควรแปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 – 5 นาที
2. ควรบ้วนปากหลังรับประทานอาหารทันทีและทุกครั้ง
3. ควรล้างฟันปลอมชนิดถอดได้หลังรับประทานอาหารทุกครั้ง และควรถอดออกเวลากลางคืน
4. ควรใช้ฟันทุกซี่เคี้ยวอาหาร ไม่ควรถนัดเคี้ยวข้างเดียว เพื่อให้เหงือกและฟันแข็งแรง
5. ควรไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติถึงแม้จะไม่มีอาการเจ็บปวดก็ตาม
6. ควรงดสิ่งเสพติด ได้แก่ เหล้า บุหรี่ ยาฉุน และหมากพลู
7. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
8. ควรใช้ยาตามทันตแพทย์และแพทย์สั่ง เพื่อผลการรักษาที่ดีและป้องกันการดื้อยา
9. หมั่นตรวจช่องปากอย่างง่าย ๆ ด้วยตนเอง
อ้างอิงkapook ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่แบ่งปันมา ณ โอกาสนี้เป็นอย่างสูงค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น