PHIKANES2515

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

งานเปิดตัว X-Factor ของYES I CAN, X-Factor สเปรย์นาโนใต้ลิ้นช่วยป้องกันโรคพาร์กินสัน, มารู้จักโรคพาร์กินสัน, ใครเสี่ยงกับการเป็นโรคพาร์กินสันบ้าง, วิธีป้องกันรักษาโรคพาร์กินสัน, เป็นเบาหวานไม่ต้องตัดขาทำไงดี





งานเปิดตัว YIC.GRAND OPENING FOR "X-FACTOR" AT TOWN IN TOWN HOTEL.(Nov.24,2013)



มารู้จัก"โรคพาร์กินสัน(Parkinson's Disease)" กันไว้ก่อนจะสายเกินไป
"โรคพาร์กินสัน" ถูกค้นพบครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1817 โดย ดร.เจมส์ พาร์กินสัน อายุรแพทย์ชาวอังกฤษ แต่มาพูดถึงกันมากขึ้นเมื่อมาเป็นกับคนดังอย่างอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน และนักแสดงไมเคิล เจ ฟ็อกซ์ อัตราการเป็นโรคพาร์กินสันของเมืองไทยและทั่วโลก คือใน 1,000 คน จะเป็นโรค
พาร์กินสัน 3 คน โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 5-10% ที่มีอายุในช่วง 40 ปีหรือต่ำกว่านั้นก็ได้
      
าเหตุของโรคพาร์กินสัน
       โรคพาร์กินสันเกิดจากการขาดสารโดปามีนในสมอง เนื่องจากเซลล์สมองส่วนที่ผลิตโดปามีนเสื่อมหรือตายไป สารโดปามีนมีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อ 80% ของการสร้างโดปามีนในสมองเริ่มเสื่อมถอยลง อาการของโรคพาร์กินสันก็จะเกิดขึ้น
      
       ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคนี้ สันนิษฐานว่าการเสื่อมหรือตายของเซลล์สมองอาจเกิดขึ้นเองจากความชราภาพของสมอง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่
      
       - การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยารักษาความผิดปกติทางจิตบางชนิด หรือยาลดความดันโลหิตสูงที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน
       - โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนน้อยลงหรือหมดไป
       - สมองขาดออกซิเจน เช่น ผู้ป่วยที่จมน้ำ ถูกบีบคอ หรือมีการอุดตันในทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหาร
       - สมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง
       - การได้รับสารพิษที่ทำลายสมอง เช่น แมงกานีสในโรงงาน พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์
       - อุบัติเหตุที่ทำให้ศีรษะถูกกระทบกระเทือน หรือศีรษะถูกกระแทกบ่อยๆ เช่น อาชีพนักมวย
       - โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ซึ่งเป็นโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง เนื่องจากมีธาตุทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตราย ทำให้เซลล์สมองเสื่อมได้
      
อาการของโรคพาร์กินสัน       โรคพาร์กินสันจะมีอาการแสดงของโรคมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา อาการของโรคจะมีลักษณะเด่น คือ
      
       อาการสั่น ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรค โดยจะมีอาการสั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหว อาการสั่นจะลดลงหรือหายไป ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการสั่นของผู้สูงอายุทั่วไปที่จะสั่นมากเวลาเคลื่อนไหวทำงาน แต่เมื่ออยู่เฉยๆ จะไม่มีอาการสั่น อาการสั่นของโรคอาจเริ่มเกิดขึ้นที่มือ แขน ขา คาง ศีรษะ หรือลำตัว ระยะแรกอาจเกิดข้างเดียวก่อน ต่อมาจะมีอาการทั้งสองข้าง
      
       อาการเกร็ง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว โดยที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด กล้ามเนื้อจะแข็งตึงและเกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
       จนผู้ป่วยบางรายต้องกินยาแก้ปวดเมื่อย หรือทายาบรรเทาอาการ หรือต้องบีบนวดคลายเส้นอยู่เป็นประจำ
      
       อาการเคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยในระยะแรกๆ จะรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรช้าลงไปจากเดิมมาก ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เริ่มต้นเคลื่อนไหว
      
       ในรายที่เป็นมากจะมีความผิดปกติของท่าทางและการทรงตัว เช่น ท่าเดินผิดปกติไป ผู้ป่วยจะมีท่าเดินที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่นๆ คือจะก้าวเดินสั้นๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรกๆ ต่อมาจะก้าวยาวขึ้นเรื่อยๆ จนเร็วมาก และหยุดทันทีทันใดไม่ได้ และไม่สามารถบังคับทิศทางในการเดินได้ ในรายที่เป็นมากจึงพบว่ามีการหกล้มบ่อยๆ จนเกิดการบาดเจ็บได้
      
       ผู้ป่วยจะเดินหลังค่อม เวลาเดินจะไม่สามารถแกว่งแขนไปมาได้ นั่งตัวเอียง มีสีหน้าเมินเฉย ไม่มีอารมณ์ เสียงพูดเบามากและไม่ชัดเจน เมื่อพูดนานๆ ไป เสียงจะค่อยๆ หายไปในลำคอ รวมทั้งมีน้ำลายสออยู่ที่มุมปากทั้งสองข้างและอาจไหลเยิ้มออกมาโดยไม่สามารถควบคุมได้
      
อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่       อาการท้องผูกเป็นประจำ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อย เคลื่อนไหวลำบาก ประกอบกับไม่ค่อยดื่มน้ำ ไม่รับประทานผักหรือผลไม้ และยารักษาโรคพาร์กินสันมักมีผลข้างเคียงที่ทำให้ท้องผูกได้
      
       อาการปวด อาจปวดแบบกล้ามเนื้อเกร็ง ปวดขา ปวดหลัง หรือปวดในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะเวลานอน จนทำให้นอนไม่หลับ อาจต้องรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งต้องระวังปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร รวมไปถึงอาการอ่อนเพลีย ซึ่งมักพบได้บ่อยๆ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีงานมาก เครียดหรือกังวล ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการอ่อนเพลียที่จะส่งผลต่อจิตใจได้
      
       อาการท้อแท้และซึมเศร้า นอกจากผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองแล้ว ผู้ป่วยจะไม่สามารถกระฉับกระเฉงได้เหมือนเดิม หากขาดการดูแลเอาใจใส่ก็จะยิ่งเกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายในชีวิตและคิดว่าตนเป็นภาระต่อครอบครัว ภาวะซึมเศร้านี้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ผู้ป่วยอาจคิดสั้นได้ ในรายที่มีอาการมาก จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์ เพื่อการบำบัดรักษาที่ถูกต้องต่อไป
บรรจุด 20 ml. ใช้ได้นาน 45 วัน ฉีดพ่นครั้งละ 2 ปื้ด เช้า-ค่ำ

ชุดทดลอง 4,500 บ.(ปกติ 7,500บ.)

ชุดประหยัด 6,000 บ.(ปกติ 10,000บ.)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น